top of page

ประเภทและลักษณะของตะกร้อ

ตะกร้อวงเล็ก

ตะก้อวงนับเป็นการเริ่มแรกของรูปแบบการเล่นตะกร้อ ซึ่งอาจใช้ผู้เล่นเพียงคนเดียว เตะหรือเดาะลูก เล่นให้ลูกลอยอยู่ในอากาศและใช้อวัยวะหลายๆ ส่วนที่แตกต่างกันเตะหรือเดาะลูก โดยใช้ทั้งเท้า เข่า ศอก ศีรษะ ต่อมาอาจมีผู้เล่นเพิ่มเป็น ๒ คน มีการโยนให้ผู้ยืนอยู่ตรงข้ามเตะโต้กันเป็นเวลานานๆ โดยทั่วไปแล้วผู้เตะมักจะเตะลูกที่ตนถนัด เช่น ลูกแป ลูกหลังเท้า ลูกโหม่ง เป็นต้น การเล่นตะกร้อวงเล็กนั้นจะเล่นในบริเวณที่แคบๆ เช่น บนโต๊ะ หรือสนามซึ่งเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ – ๓ เมตร

ตะกร้อวงใหญ่

         ลักษณะและรูปแบบการเล่นเหมือนกับการเล่นตะกร้อวงเล็ก ต่างกันตรงที่สถานที่เล่นและจำนวนผู้เล่น

๓. ตะกร้อเตะทน

       ตะกร้อเตะทนหรือตะกร้อวงเตะทน มักนิยมเล่นแข่งขันกันเป็นทีม จึงควรศึกษาไว้เพื่อนำไปเล่นกันต่อไป

๔. ตะกร้อพลิกแพลง

                ตะกร้อพลิกแพลง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การติดตะกร้อ” การเล่นตะกร้อแบบนี้ผู้เล่นต้องมีความชำนาญเป็นอย่างดี เพราะลูกที่ผู้เตะจะเตะแต่ละท่า ดัดแปลงมาจากท่าธรรมดา การเล่นตะกร้อพลิกแพลงนี้ส่วนมากไม่ทำการแข่งขัน เป็นเพียงเล่นกันเพื่ออวดลวดลายในการเตะเพื่อดูกันแปลกๆ และเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินกันเท่านั้น

๕. ตะกร้อชิงธง

                ตะกร้อชิงธงหรือตะกร้อเตะช่วงชัย เป็นการแข่งขันตะกร้ออีกวิธีหนึ่ง คล้ายการแข่งขันวิ่งวัวหรือวิ่งเร็ว โดยขีดเส้นด้วยปูนขาวลงบนพื้น ทำเป็นช่องทางกว้างประมาณ ๓ เมตร ยาวประมาณ ๕๐ เมตร เมื่อผู้เข้าแข่งขันยืนประจำที่เส้นเริ่มต้น จากนั้นเมื่อได้ยินสัญญาณให้เลี้ยงตะกร้อด้วยอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ยกเว้นมือ โดยพยายามพาลูกตะกร้อไปยังปลายทาง ซึ่งมีเส้นชัย มีธงปักไว้เป็นเครื่องหมาย ถ้าผู้เล่นคนใดสามารถเลี้ยงตะกร้อโดยไม่ออกนอกลู่ และไม่ตกพื้นจนกระทั่งถึงเส้นชัยก่อนจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน

๖. ตะกร้อลอดห่วง

       ตะกร้อลอดห่วง มักเรียกวันหลายชื่อ เช่น ตะกร้อลอดบ่วง ตะกร้อห่วงชัย หลวงมงคลแมน ( สังข์ บูรณะศิริ ) เป็นผู้ริเริ่มคิดขึ้นราวช่วง พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๗๕ เริ่มมีการแข่งขึ้นครั้งแรกราว พ.ศ. ๒๔๗๖ ตะกร้อลอดห่วงมีผู้เล่น ๗ คน สำรอง ๓ คน สนามสำหรับสำหรับแข่งเป็นพื้นราบอยู่ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ ในขณะที่เล่นจะเปลี่ยนตัวผู้เล่นไม่ได้

๗. ตะกร้อข้ามตาข่าย

         การเล่นตะกร้อข้ามตาข่ายแบบไทยนี้ เนื่องจากมีนักตะกร้อและนักแบดมินตันบางท่าน ซึ่งมี หลวงสำเร็จวรรณกิจ ขุนจรรยาวิฑิต นายผล ผลาสินธุ์  และนายยิ้ม ศรีหงส์ เป็นคณะผู้ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ โดยพยายามการเล่นตะกร้อกับแบดมินตันเข้าด้วยกันและเรียกกีฬาใหม่นี้ว่า “ตะกร้อข้ามตาข่าย”

๘. เซปักตะกร้อ

                เซปักตะกร้อหรือตะกร้อข้ามตาข่ายแบบสากล เป็นกีฬาที่ได้พัฒนามาจนเป็นที่แพร่หลายไปเกือบทั่วโลก  ประเทศมาเลเซียเป็นผู้คิดค้นกติกาการเล่น ซึ่งลักษณะการเล่นเซปักตะกร้อคล้ายกับการเล่นตะกร้อข้ามตาข่ายของไทย แต่ต่างกันตรงรูปแบบ สนาม การเล่นลูก การนับคะแนน และกติกาการแล่น

 

© 2023 by PRETTY GAL. Proudly created with Wix.com

bottom of page